สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

นวัตกรรมเท้าเบาหวาน 53

ชื่อผลงาน   นวัตกรรม โครงการสร้างแกนนำผู้ดูแลเท้า ผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน ปี2553    (อาสาสมัคร พิทักษ์เท้า  ชาวเบาหวาน)

ชื่อผู้นำเสนอ

1. นางลดาวัลย์      พุทธสังฆ์       พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

 2. นางกรองแก้ว     ชุ่มวงศ์            พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

 3.  นายประพจน์   เกษมพิณ           เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน

Email address   lad-awan@live.com

หน่วยงานที่สังกัด  สถานีอนามัยบ้านหัวชวด ต.หนองบัว อ.บ้านค่าย จ.ระยอง

บทคัดย่อ

                  โรคเบาหวาน เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ เนื่องจากเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังของระบบต่อมไร้ท่อที่พบได้บ่อยและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของหลายประเทศและอัตราความชุกของโรคมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากสถิติข้อมูลของ WHO  ปีพ.ศ. 2543 พบว่าทั่วโลกมีคนเป็นโรคเบาหวาน 171  ล้านคน และจะเพิ่มขึ้นเป็น 366 ล้านคนในปีพ.ศ. 2573 โดยเฉพาะผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 พบร้อยละ 97  และในจำนวนนั้นจะมีมากกว่า 150 ล้านคนที่อยู่ในทวีปเอเซีย   ซึ่งจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันเกือบ 2 เท่า สำหรับประเทศไทยและประเทศทางแถบเอเซียนั้น ผู้เป็นเบาหวานร้อยละ 99 เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 (เทพ หิมะทองคำ และคณะ,2544)     เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด       สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ มากมายทั้งชนิดเฉียบพลัน  เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ  และการติดเชื้อ ภาวะแทรกซ้อนชนิดเรื้อรังได้แก่ ไตวาย  แผลเรื้อรังที่เท้า  ต้อกระจกและตาบอด  โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง  เป็นต้น  และภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญมากของโรคเบาหวานที่ต้องให้ความสนใจไม่น้อยไปกว่าภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ นั่นก็คือ แผลที่เท้า แผลที่เท้าเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของผู้ป่วยเบาหวาน ทำให้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบ่อยครั้ง และแต่ละครั้งต้องใช้เวลาเข้ารับการรักษาเป็นระยะเวลานานกว่า 1 เดือน   (Stanley and Turner,2004)

ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีอายุมากกว่า 40 ปี หรือเป็นเบาหวานมานานกว่า 10 ปี พบว่าอุบัติการณ์ของการเกิดแผลที่เท้าจะเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะถ้าเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีมักก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบประสาทรับความรู้สึกส่วนปลาย ทำให้บริเวณเท้าชา ไม่รู้สึกเจ็บปวด ไม่รับรู้แรงกดดัน หรืออาจสูญเสียการรับรู้ร้อนหนาวได้ สิ่งเหล่านี้ทำให้ง่ายต่อการเกิดอุบัติเหตุ     หรือแม้แต่เมื่อมีแผลเกิดขึ้นที่เท้าก็จะไม่รู้สึกเจ็บ ทำให้แผลนั้นลุกลาม

สถานีอนามัยบ้านหัวชวด มีผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 90 ราย และพบว่าอุบัติการณ์ของการเกิดแผลที่เท้าเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี( ปี 255 – 2552) จำนวน  3 , 3 และ5 ราย  ตามลำดับ)     ปัจจุบันมีผู้ป่วยมีแผลที่เท้าจำนวน 5 ราย ซึ่งบางรายถูกตัดนิ้ว และแต่ละรายต้องใช้เวลาการรักษาแผลเป็นเวลานาน เป็นการเพิ่มภาระการดูแลของสถานีอนามัย และจากการติดตามเยี่ยมบ้าน พบว่า ผู้ป่วยและผู้ดูแลบางส่วน ดูแลเท้าไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม และการดูแลไม่ต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องเท้า และส่วนใหญ่มักมีอาการเท้าชา ในการดำเนินงานด้านการตรวจประเมินเท้าประจำปี ของผู้ป่วย      ซึ่งได้มีการให้คำแนะนำเรื่องการดูแลเท้า    การฝึกปฏิบัติการนวดเท้าแล้ว พบว่าผู้ป่วย หรือผู้ดูแลเองไม่ได้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง  เนื่องจากข้อจำกัดหลายด้าน      ซึ่งการนวดเท้าในผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอนอกจากจะช่วยในการกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตแล้ว   ยังส่งผลให้ลดอาการเท้าชาอีกด้วย    ในการสร้างเครือข่ายผู้ดูแลผู้ป่วยโดยส่งเสริมให้บุคคลในครอบครัวและชุมชนเข้ามามีบทบาท มีส่วนร่วมจึงเป็นกลไกหลักที่สำคัญในการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ      ดังนั้นสถานีอนามัยบ้านหัวชวด      จึงได้จัดทำโครงการนวัตกรรม โครงการสร้างแกนนำผู้ดูแลเท้า ผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน ปี2553 (อาสาสมัคร พิทักษ์เท้า  ชาวเบาหวาน) ขึ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนารูปแบบบริการผู้ป่วยเบาหวานที่เหมาะสม และต่อเนื่อง สืบไป โดยวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานนวัตกรรมการโครงการ คือ

1.เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลภาวะแทรกซ้อน(เท้า)ผู้ป่วยเบาหวาน

2.เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)ในชุมชน

3.เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ(เท้า)ของผู้ป่วยเบาหวาน

4.เพื่อส่งเสริมให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน

           โดยกลุ่มเป้าหมายให้เกิดงานขึ้นกับ    อาสาสมัครสาธารสุขประจำหมู่บ้าน  (อสม.) หรือญาติผู้ป่วยเบาหวาน (จิตอาสา)ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 30 ราย.      คัดเลือกผู้ป่วยเบาหวานเพื่อเข้าร่วมโครงการ (อายุ 40 ปีขึ้นไป และป่วยเป็นเบาหวาน     มากกว่า 5 ปี หรือ เคยมีประวัติมีแผลที่เท้า หรือ มีอาการเท้าชา)อาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบของสถานีอนามัยบ้านหัวชวด  พื้นที่ หมู่ 1,2,6,10 ต.หนองบัว อ.บ้านค่าย  จ.ระยอง   จำนวน 30 ราย จัดตั้ง คลินิกสุขภาพเท้าเบาหวานศูนย์สุขภาพชุมชนจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ทั่วไป และวัสดุอุปกรณ์ในการทำ การตรวจเท้าเตรียมแบบตรวจประเมินเท้าในผู้ป่วยเบาหวานตามระดับความรุนแรง และแบบประเมินความพึงพอใจนวัตกรรม ตรวจเท้า

ประเมินเท้าในผู้ป่วยเบาหวานตามระดับความรุนแรง 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงปานกลาง กลุ่มเสี่ยงสูง และกลุ่มที่มีแผลจัดทำแนวทางปฏิบัติการแลเท้าผู้ป่วยเบาหวาน

ผู้ป่วยเบาหวาน จำแนกผู้ป่วยตามระดับความรุนแรงเป็น 4 กลุ่ม บนแฟ้มประวัติผู้ป่วย ดังนี้

                1) กลุ่มปกติ หมายถึงไม่มีแผล และเท้าปกติ

                2) กลุ่มเสี่ยงปานกลาง หมายถึง ไม่มีแผล เท้าผิดรูป ผิวหนัง/เล็บผิดปกติ ชีพจรที่เท้าผิดปกติ หรือมีการรับความรู้สึกที่เท้าผิดปกติ

                3) กลุ่มเสี่ยงสูง หมายถึง ไม่มีแผล มีประวัติเคยมีแผลหรือเคยตัดขา/เท้า หรือ เท้าผิดรูป ร่วมกับ ชีพจรที่เท้าผิดปกติ หรือการรับความรู้สึกที่เท้าผิดปกติ

                4) กลุ่มที่มีแผลที่เท้า

    ทุกกลุ่ม ทำการทดสอบระดับความเข้าใจการดูแลเท้าด้วยตนเอง ก่อนและหลังสิ้นสุดโครงการ4)  

  จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ 1 วัน

                    วิทยากร             - สอนความรู้จากคลินิกสุขภาพเท้า โรงพยาบาลบ้านค่ายจำนวน  1 คน

-   สอนนวดเท้าจาก หมอนวดแผนไทย ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแพทย์แผนไทย สถานีอนามัยบ้านหัวชวด  จำนวน   2 คน

    เนื้อหา               ทดสอบความรู้ก่อน/หลัง

ความรู้การดูแลเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

                                การนวดฝ่าเท้า การนวดเท้าผู้ป่วยเบาหวาน

อาสาสมัคร ฝึกปฏิบัติการนวดเท้า ตรวจเท้า

                                รูปแบบการดำเนินงานของอาสาสมัคร พิทักษ์เท้า ชาวเบาหวาน

                                มอบหมายภารกิจ/อุปกรณ์

สำรวจความพึงพอใจของผู้ป่วย

       2.4 พยาบาลให้คำแนะนำความรู้เรื่องเบาหวานเบื้องต้น บัญญัติ 10 ประการในการดูแลเท้า

และการดูแลเท้าด้วยตนเอง 5 ขั้นตอน ได้แก่ การเช็ดเท้า-การตรวจ/คลำ-ทาโลชั่น-การนวดเท้า-การบริหารเท้า โดยใช้การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของกลุ่ม การฟังอย่างลึกซึ้ง และใช้ทักษะการจับประเด็น

  2.5 ตรวจประเมินความรู้สึกที่เท้าด้วย Monofilament โดยเจ้าหน้าที่

        3.1 ก่อนและสิ้นสุดโครงการ วัดระดับความเข้าใจในการดูแลเท้าด้วยตนเอง และระดับความรู้สึกต่อการชาที่เท้า จากแบบสอบถามและการตอบคำถามของกลุ่ม

 3.2 ประเมินอัตราการเกิดแผลใหม่และการตัดนิ้ว/เท้า/ขา เปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผล ระหว่างตุลาคม 2552 –  มีนาคม 2554  กับผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผล ระหว่างตุลาคม 2552 –  มีนาคม 2554

 3.3 ดำเนินงานต่อเนื่องโดย อาสาสมัคร พิทักษ์เท้า ชาวเบาหวาน ที่ผ่านการอบรมแล้วไปปฏิบัติภารกิจดูแลสุขภาพเท้าและนวดเท้าผู้ป่วยเบาหวานที่รับผิดชอบ    สัปดาห์ละ 1-2 วัน พร้อมส่งรายงานผลการปฏิบัติงานทุกวันสิ้นเดือนที่สถานีอนามัย 

3.4   เจ้าหน้าที่จากสถานีอนามัย ออกเยี่ยมบ้านเพื่อประเมิน นิเทศติดตามการปฏิบัติงานของอาสาสมัครฯในชุมชน เดือนละ 1 ครั้ง

3.5     ตรวจประเมินเท้าผู้ป่วยเบาหวาน ด้วย Monofilament โดยเจ้าหน้าที่ หลังนวดเท้า 6 เดือน

ผลลัพธ์ ที่จะเกิดขึ้น คือ

1.จำนวนผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจประเมินเท้าเบื้องต้น มากกว่า 80%

2.จำนวนผู้ป่วยเบาหวาน ได้รับการประเมินความเสี่ยงการเกิดแผลที่เท้าตามแนวทางปฏิบัติมากกว่า  80 %

3. จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่เข้าอบรม มีความรู้เรื่องการดูแลเท้าเบื้องต้น ก่อนและหลังการอบรม มากกว่า     ร้อยละ 80

4.จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับ การตรวจเท้า  มีความความพึงพอใจต่อนวัตกรรม การตรวจเท้า  มากกว่า   ร้อยละ 80

5.กลุ่มเสี่ยงสูง กลุ่มที่มีแผลที่เท้า มีการส่งต่อโรงพยาบาลหลักตามแนวทางปฏิบัติ 100%

6.เกิดนวัตกรรมในการตรวจประเมินเท้าเบาหวานเบื้องต้น 1 เรื่อง

การนำผลงานนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ในการดำเนินงานการตรวจเท้าผู้ป่วยเบาหวาน ในชุมชน  และคลินิกเบาหวานในสถานีอนามัย  โดยผสมผสานงานตรวจสุขภาพเบาหวาน มีการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด  ตรวจปัสสาวะ  ประเมินวัดสายตา  ประเมินเท้า  ประเมินสุขภาพจิต   ทั้งนี้ การบริการมีการดำเนินงานตรวจคัดกรองสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ และรายเก่า  ทุกราย  เป้าหมาย ปีละ 1    ครั้ง ตามแนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยและญาติมีการนำนวัตกรรมการดูแลไปปฏิบัติต่อเนื่อง ด้วยตนเองที่บ้าน และมีความร่วมมือและความเข้าใจในการประเมินเท้าอย่างลึกซึ้ง

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

view